สำนวน
|
ความหมาย
|
สำนวน
|
ความหมาย
|
ไกลปืนเที่ยง
|
ว.ไม่รู้อะไร เพราะ อยู่ห่างไกลความเจริญ
|
ขมิ้นกับปูน
|
ว.ชอบวิวาทกันอยู่เสมอ เมื่ออยู่ใกล้กันไม่ถูกกัน
|
ขวานผ่าซาก
|
ว.โผงผางไม่เกรงใจใคร (ใช้แก่กริยาพูด)
|
ข้าเก่าเต่าเลี้ยง
|
น.คนเก่าคนแก่, คนที่อยู่ด้วยกันในฐานะ รับใช้มานาน
|
ขายผ้าเอาหน้ารอด
|
ก.ยอมเสียสละแม้แต่ ของจำเป็นที่ตนที่อยู่ เพื่อรักษาชื่อเสียงของตนไว้, ทำให้เสร็จลุล่วงไป เพื่อรักษาชื่อเสียงของตนไว้
|
ข้าวแดงแกงร้อน
|
น.บุญคุณ
|
ขิงก็รา ข่าก็แรง
|
ต่างก็จัดจ้านพอ ๆ กัน , ต่างก็มีอารมณ์ร้อนพอ ๆ กัน, ต่างไม่ยอมลดละกัน
|
ขี่ช้างจับตั๊กแตน
|
ก.ลงทุนมากแต่ได้ผล นิดหน่อย
|
เข้าเมืองตาหลิ่ว
ต้องหลิ่วตาตาม |
ก.ประพฤติตนตามที่ คนส่วนใหญ่ ประพฤติกัน
|
เขียนเสือให้วัวกลัว
|
ก.ทำอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่ง เสียขวัญหรือเกรงขาม
|
แขวนนวม
|
ก.เลิกชกมวย, โดยปริยายหมายถึง
เลิก, หยุด |
ไข่ในหิน
|
น.ของที่ต้องระมัดระวังทะนุถนอมอย่างยิ่ง
|
คดในข้องอในกระดูก
|
ว.มีสันดานคดโกง
|
คนดีผีคุ้ม
|
น.คนทำดี เทวดาย่อมคุ้มครอง,
มักใช้คู่กับ คนร้ายตายขุม เป็น คนดี ผีคุ้ม คนร้ายตายขุม |
คนรักเท่าผืนหนัง
คนชังเท่าผืนเสื่อ |
น.คนรักมีน้อย คนชังมีมาก
|
คมในฝัก
|
ว.มีความรู้ความสามารถ แต่เมื่อยังไม่ถึงเวลา ก็ไม่แสดง ออกมาให้ปรากฏ
|
คลุกคลีตีโมง
|
ก.มั่วสุม หรืออยู่ร่วม คลุกคลีพัวพันกัน
อย่างใกล้ชิดตลอดเวลา |
คลุมถุงชน
|
น.ลักษณะการแต่งงาน ที่ผู้ใหญ่จัดการให้โดย ที่เจ้าตัวไม่รู้จักคุ้นเคยหรือ รักกันมาก่อน
|
คว่ำบาตร
|
ก.ไม่ยอมคบค้าสมาคมด้วย, เดิมหมายถึง สังฆกรรมที่พระสงฆ์ ประกาศลงโทษคฤหัสถ์ ผู้ประทุษร้ายต่อศาสนา ด้วยการไม่คบ ไม่รับบิณฑบาตเป็นต้น
|
คางคกขึ้นวอ
|
น.คนที่มีฐานะต่ำต้อย พอได้ดิบได้ดี ก็มักแสดงกิริยาอวดดีลืมตัว
|
เคราะห์หามยามร้าย
|
น.เคราะห์ร้าย
|
เคียงบ่าเคียงไหล่
|
ว.มีฐานะเสมอกัน ทัดเทียมกัน หรืออยู่ในระดับเดียวกัน; ร่วมสุขร่วมทุกข์ หรือร่วมเป็น ร่วมตายด้วยกัน เช่น
รบเคียงบ่าเคียงไหล่ |
ฆ้องปากแตก
|
ว.ปากโป้ง, เก็บความลับไม่อยู่, ชอบนำความลับของผู้อื่นไปโพนทะนา
|
ฆ่าควายเสียดายเกลือ, ฆ่าควายเสียดายพริก
|
ก.ทำการใหญ่ไม่ควรตระหนี่
|
ฆ่าช้างเอางา
|
ก.ทำลายของใหญ่เพื่อให้ได้ของเล็กน้อย ซึ่งไม่คุ้มค่ากัน
|
ฆ่าไม่ตายขายไม่ขาด
|
ก.ตัดเยื่อใยไม่ขาด (มักใช้แก่พ่อแม่ ที่รักลูกมาก ถึงจะโกรธ จะเกลียดอย่างไร ก็ตัดไม่ขาด)
|
งงเป็นไก่ตาแตก
|
ก.งงมากจนทำอะไรไม่ถูก
|
งมเข็มในมหาสมุทร
|
ก.ค้นหาสิ่งที่ยากจะค้นหาได้, ทำกิจที่สำเร็จได้ยาก
|
งอมืองอตีน
|
ก.เกียจคร้าน, ไม่สนใจขวนขวายทำการงาน, ไม่คิดสู้
|
งานหลวงไม่ขาด
งานราษฎร์ไม่เสีย |
ทำงานไม่บกพร่องทั้งงานส่วนรวม และส่วนตัว
|
งูกินหาง
|
ว.เกี่ยวโยงกันจากหัวถึงหางโดยซัดกันเป็นทอดๆ
|
เงาตามตัว
|
น.ผู้ที่ไปไหนไปด้วยกันแทบไม่คลาดกันเลย; สิ่งที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงไปตามกัน เช่น น้ำมันขึ้นราคา สินค้าอื่น ๆ ก็ขึ้นราคา เป็นเงาตามตัว
|
เงียบเป็นเป่าสาก
|
ว.ลักษณะที่เงียบสนิท
|
โง่เง่าเต่าตุ่น
|
ว.โง่ที่สุด เช่น เพราะโง่เง่าเต่าตุ่นพ่อคุณเอ๋ย ผู้ใดเลยจะประสงค์จำนงหมาย (นิ. ทวาราวดี)
|
โง่แล้วอยากนอนเตียง
|
ว.โง่แล้วไม่เจียมตัวว่าโง่ ไปทำสิ่งที่ตน ไม่รู้ไม่เข้าใจ
|
จมูกมด
|
ว.ไหวตัวหรือรู้ตัวทันเหตุการณ์,
บางทีใช้คู่กับ คำว่า หูผี เป็น หูผีจมูกมด |
จระเข้ขวางคลอง
|
น.ผู้ที่ชอบกันท่าหรือขัดขวางไม่ให้ผู้อื่นทำการ อย่างใดอย่างหนึ่ง ได้สะดวกเหมือนจระเข้ ที่ขึ้นมาขวางคลองทำให้เรือ ผ่านไปมาไม่สะดวก
|
จองหองพองขน
|
ว.เย่อหยิ่งแสดงอาการ ลบหลู่
|
จับปลาสองมือ
|
ก.หมายจะเอาให้ได้ ทั้ง 2 อย่าง, เสี่ยงทำการ 2 อย่างพร้อม ๆ กัน ซึ่งอาจไม ่สำเร็จทั้ง 2 อย่าง
|
จับปูใส่กระด้ง
|
ก.ยากที่จะทำให้อยู่นิ่ง ๆ ได้
|
จับแพะชนแกะ
|
ก.ทำอย่างขอไปที ไม่ได้อย่างนี้ก็เอาอย่างนั้น เข้าแทน เพื่อให้ลุล่วงไป
|
จับเสือมือเปล่า
|
ก.แสวงหาประโยชน์ โดยตัวเองไม่ต้องลงทุน
|
จุดไต้ตำตอ
|
ก.พูดหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งบังเอิญไปโดน เอาเจ้าตัว หรือผู้ที่เป็นเจ้าของเรื่องนั้นเข้าโดยผู้พูด หรือผู้ทำไม่รู้ตัว
|
เจ้าไม่มีศาล
สมภารไม่มีวัด |
น.ผู้ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง
|
ชักน้ำเข้าลึก ชักศึกเข้าบ้าน |
ก.นำศัตรูเข้าบ้าน
| ชักใบให้เรือเสีย |
ก.พูดหรือทำขวาง ๆ ให้การสนทนาหรือ การงานเขว ออกนอกเรื่องไป
|
ชักใย |
ก.บงการอยู่เบื้องหลัง
| ชั่วช่างชี ดีช่างสงฆ์ |
ว.ปล่อยไปตามเรื่องตามราว ไม่เอาเป็นธุระ (มักใช้แก่พระสงฆ์)
|
ช้า ๆ ได้พร้า สองเล่มงาม |
ว.ค่อย ๆ คิดค่อย ๆ ทำแล้วจะสำเร็จผล
| ช้างตายทั้งตัว เอาใบบัวมาปิด |
น.ความชั่วหรือความผิดร้ายแรงที่คนรู้กันทั่วแล้ว จะปิดอย่างไรก็ไม่มิด
|
ชายสามโบสถ์ |
น.ผู้ที่บวชแล้วสึกถึง 3 หน,ใช้พูดเป็นเชิงตำหนิว่า เป็นคนไม่น่าคบ
| ชิงสุกก่อนห่าม |
ก.ทำสิ่งที่ยังไม่สมควรแก่วัยหรือยังไม่ถึงเวลา
(มักหมายถึงการลักลอบได้เสียกันก่อน แต่งงาน), ใช้เป็นคำสอน หรือเตือนสติ ว่า อย่าชิงสุกก่อนห่าม |
ชี้นกบนปลายไม |
ก.หวังในสิ่งที่อยู่ไกลตัว
| ชุบมือเปิบ |
ก.ฉวยประโยชน์จากคนอื่นโดยไม่ได้ลงทุนลงแรง
|
เชื้อไม่ทิ้งแถว |
ว.เป็นไปตามเผ่าพันธุ์
| ซื่อเหมือนแมว นอนหวด |
ว.ทำเป็นซื่อ
|
ซื้อควายหน้านา, ซื้อผ้าหน้าหนาว |
ก.ซื้อของไม่คำนึงถึงกาลเวลา ย่อมได้ของแพง,
ทำอะไรไม่เหมาะกับกาลเวลา ย่อมได้รับ ความเดือดร้อน | เฒ่าหัวงู |
น.คนแก่หรือคนมีอายุที่มีเล่ห์เหลี่ยม หรือกลอุบาย หลอกเด็กผู้หญิง ในทางกามารมณ์, คนแก่เจ้าเล่ห์
|
ดาบสองคม |
ว.มีทั้งคุณและโทษ, อาจดีอาจเสียก็ได้
| ดาวล้อมเดือน |
ว.มีบริวารแวดล้อมมาก
|
ดีดลูกคิดรางแก้ว |
ก.คิดถึงผลที่จะได้ ทางเดียว
| เดินตามหลังผู้ใหญ่ หมาไม่กัด |
ก.ประพฤติตามอย่างผู้ใหญ่ย่อมปลอดภัย
|
ได้ทีขี่แพะไล่ |
ก.ซ้ำเติมเมื่อผู้อื่น เพลี่ยงพล้ำลง
| ตกนรกทั้งเป็น |
ก.ได้รับความลำบากแสนสาหัส เช่น คนที่ได้รับโทษทัณฑ์ในเรือนจำ
|
ตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้ |
ก.ตกอยู่ในที่คับขันอย่างไรก็ไม่เป็นอันตราย, เป็นคำเปรียบเทียบ หมายความว่าตกอยู่ที่ใด ก็ไม่สูญหาย เช่น ของหลวงตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้
| ตกม้าตาย |
ว.แพ้เร็ว, ยุติเร็ว,เรียกเต็มว่าสามเพลงตกม้าตาย
|
ตกล่องปล่องชิ้น |
ก.ตัดสินใจที่จะร่วมมือหรือร่วมชีวิตด้วย
| ต้นร้ายปลายดี |
น.ตอนแรกประพฤติตัว ไม่ดี แต่ภายหลังกลับ สำนึกตัวได้และ ประพฤติดีตลอดไป, ตอนต้นไม่ดี ไปดีเอาตอนปลาย
|
ตบตา |
ก.หลอกหรือลวง ให้เข้าใจผิด
| ตบหัวลูบหลัง |
ก.ทำหรือพูดให้กระทบกระเทือนใจ
ในตอนแรกแล้ว กลับทำหรือพูดเป็นการปลอบใจ ในตอนหลัง |
ต่อความยาว สาวความยืด |
ก.พูดกันไปพูดกันมาให้มากเรื่องเกินสมควร
| ต่อหน้ามะพลับ ลับหลังตะโก |
ว.ต่อหน้าทำเป็นดี แต่พอลับหลังก็นินทา หรือหาทางทำร้าย
|
ตัดเชือก |
ก.ตัดความสัมพันธ์ ไม่ยอมให้ความช่วยเหลือ อีกต่อไป
| ตัดหางปล่อยวัด |
ก.ตัดขาดไม่เกี่ยวข้อง ไม่เอาเป็นธุระอีกต่อไป
|
ตาบอดสอดตาเห็น |
อวดรู้ในเรื่องที่ตนเองไม่รู้
| ตำข้าวสารกรอกหม้อ |
ก.หาเพียงแค่พอกินไปมื้อหนึ่ง ๆ , ทำให้พอเสร็จ ไปชั่วครั้งหนึ่ง ๆ
|
ตีงูให้กากิน |
ก.ทำสิ่งใด ๆ ไว้แล้ว แต่ผลไปตกแก่ผู้อื่น, ทำสิ่งที่ตนควรจะได้รับประโยชน์ แต่กลับไม่ได้
| ตีนเท่าฝาหอย |
น.เด็กทารก
|
ตีปลาหน้าไซ |
ก.พูดหรือทำให้กิจการของผู้อื่นซึ่งกำลังดำเนิน ไปด้วยดีกลับเสียไป
| ตีวัวกระทบคราด |
ก.โกรธคนหนึ่งแต่ทำอะไรเขาไม่ได้ ไพล่ไปรังควานอีกคน หนึ่งที่เกี่ยวข้อง และตนสามารถทำได้
|
เต้นแร้งเต้นกา |
ก.แสดงอาการดีอกดีใจหรือสนุกสนานด้วยการ กระโดดโลดเต้น
| เตี้ยอุ้มค่อม |
น.คนที่มีฐานะต่ำต้อย หรือยากจนแต่ รับภาระเลี้ยงดูคน ที่มีฐานะเช่นตนอีก
|
ถ่มน้ำลายรดฟ้า |
ก.ประทุษร้ายต่อสิ่งที่สูงกว่าตน ตัวเองย่อมได ้รับผลร้าย
| ถอดเขี้ยวถอดเล็บ |
ก.ละพยศ, ละความดุ หรือร้ายกาจ, เลิกแสดงฤทธิ์ แสดงอำนาจอีกต่อไป
|
ถอนหงอก |
ก.ไม่นับถือความเป็นผู้ใหญ่,พูดว่าให้เสียผู้ใหญ่
| ถี่ลอดตาช้าง ห่างลอดตาเล็น |
ว.ดูเหมือนรอบคอบถี่ถ้วน แต่ไม่รอบคอบ ถี่ถ้วนจริง,ประหยัดในสิ่งที่ไม่ควรประหยัด ไม่ประหยัด ในสิ่งที่ควรประหยัด
|
ถึงพริกถึงขิง |
ว.เผ็ดร้อนรุนแรง เช่น การโต้วาทีคราวนี้ถึง พริกถึงขิง
| ทรัพย์ในดิน สินในน้ำ |
น.สิ่งที่มีอยู่หรือเกิดตามธรรมชาติ อันอาจนำ มาใช้ให้เป็นประโยชน์ได้
|
ทองไม่รู้ร้อน |
ว.เฉยเมย, ไม่กระตือ รือร้น, ไม่สะดุ้งสะเทือน
| ท่าดีทีเหลว |
ว.มีท่าทางดี แต่ทำอะไรไม่ได้เรื่อง
|
ทำคุณบูชาโทษ |
ก.ทำคุณแต่กลับเป็นโทษ, ทำดีแต่กลับเป็นร้าย, มักใช้พูดเข้าคู่กับโปรดสัตว์ได้บาป เป็น ทำคุณบูชาโทษ โปรดสัตว์ได้บาป
| ทุบหม้อข้าว |
ก.ตัดอาชีพ, ทำลายหนทางทำมาหากิน
|
นกต่อ |
น.คนที่ทำหน้าที่ติดต่อหรือชักจูงหลอกล่อคนอื่น ให้หลงเชื่อ (ใช้ในทาง ไม่ดี)
| นอนหลับไม่รู้ นอนคู้ไม่เห็น |
ก.ไม่รู้เรื่องราวที่เกิดขึ้น, ไม่รู้อีโหน่อีเหน่
|
นายว่าขี้ข้าพลอย |
ก.พลอยพูดผสมโรง ติเตียนผู้อื่นตามนาย ไปด้วย
| น้ำขึ้นให้รีบตัก |
มีโอกาสดีควรรีบทำ
|
น้ำขุ่นไว้ใน น้ำใสไว้นอก |
แม้จะไม่พอใจก็ยังแสดง สีหน้ายิ้มแย้ม
| น้ำมาปลากินมด น้ำลดมดกินปลา |
ทีใครทีมัน
|
น้ำลดตอผุด |
เมื่อหมดอำนาจความชั่ว ที่เคยทำไว้ก็ปรากฏ
| บนบานศาลกล่าว |
ก.ขอร้องให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยเหลือ
|
บอกเล่าเก้าสิบ |
ก.บอกกล่าวให้รู้
| บ้านเคยอยู่ อู่เคยนอน |
น.สถานที่ตนเคยอยู่อาศัยมาก่อน
|
บ้าหอบฟาง |
ว.บ้าสมบัติ เห็นอะไร ๆเป็นของมีค่าจะเอา ทั้งนั้น, อาการที่หอบหิ้วสิ่งของพะรุงพะรัง
| แบกหน้า |
ก.จำใจกลับมาแสดงตัวหรือติดต่อกับผู้ที่ตนเคย ทำไม่ดี ไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสมมาก่อนอีก เช่น นี่แบกหน้ากลับมาหากู (รามเกียรติ์พลเสพย์)
|
ปากว่าตาขยิบ |
ก.พูดอย่างหนึ่งแต่ทำอีกอย่างหนึ่ง
ว.ปากกับใจไม่ตรงกัน | ปากปราศรัย น้ำใจเชือดคอ |
ก.พูดดีแต่ใจคิดร้าย
|
เป็นฝั่งเป็นฝา |
ก.มีหลักฐานมั่นคง
| ปิดทองหลังพระ |
ก.ทำความดีแต่ไม่ได้รับการยกย่องเพราะ ไม่มีใครเห็นคุณค่า
|
ไปไหนมาสามวา สองศอก |
ก.ถามอย่างหนึ่งตอบไปอีกอย่างหนึ่ง
| โปรดสัตว์ได้บาป |
ก.ทำดีแต่กลับได้ชั่ว, มักพูดเข้าคู่กับ ทำคุณบูชาโทษ เป็น ทำคุณบูชาโทษ โปรดสัตว์ได้บาป
|
ผักชีโรยหน้า |
น.ทำความดีเพียงผิวเผิน
| ผัดวันประกันพรุ่ง |
ก.ขอเลื่อนเวลาออกไป ครั้งแล้วครั้งเล่า
|
ผีซ้ำด้ำพลอย |
ว.ถูกซ้ำเติมเมื่อพลาดพลั้งหรือเมื่อคราว เคราะห์ร้าย
| ผ้าขี้ริ้วห่อทอง |
น.คนมั่งมีแต่แต่งตัวซอมซ่อ
|
ฝนทั่งให้เป็นเข็ม |
ก.เพียรพยายาม สุดความสามารถ จนกว่าจะสำเร็จผล
| ฝนตกไม่ทั่วฟ้า |
ก.ให้หรือแจกจ่ายอะไร ไม่ทั่วถึงกัน
|
ฝนสั่งฟ้า ปลาสั่งหนอง |
สั่งเสียเป็นครั้งสุดท้าย, ทำการอันใดที่เป็นสิ่ง สำคัญเพื่อไว้อาลัย ก่อนจากไป
| ฝากผีฝากไข้ |
ก.ขอยึดเป็นที่พึ่งจนวันตาย
|
พระศุกร์เข้า พระเสาร์แทรก |
น.ความทุกข์ยากลำบาก ที่เกิดซ้อน ๆ เข้ามา ในขณะเดียวกัน
| พระอิฐพระปูน |
ว.นิ่งเฉย, วางเฉย ไม่เดือดร้อน, ไม่รู้สึก
ยินดียินร้าย |
พายเรือคนละที |
ก.ทำงานไม่ประสานกัน
| พรากลูกนกฉกลูกกา |
ก.ทำให้ลูกพลัดพรากจากพ่อแม่
|
พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง |
ก.พูดไปไม่มีประโยชน์ นิ่งเสียดีกว่า
| พุ่งหอกเข้ารก |
ก.ทำพอให้เสร็จไปโดยไม่มีเป้าหมายหรือ โดยไม่คำนึงว่าใครจะเดือดร้อน
|
แพะรับบาป |
น.คนที่รับเคราะห์กรรมแทนผู้อื่นที่ทำกรรมนั้น
| แพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร |
น.การยอมแพ้ทำให้เรื่องสงบ การไม่ยอมแพ้ ทำให้เรื่องไม่สงบ
|
ไฟสุมขอน |
น.ไฟที่คุกรุ่นอยู่ในขอนไม้ขนาดใหญ่ ดับยาก, โดยปริยายหมายถึงอารมณ์รัก โกรธ หรือแค้นเป็นต้น ที่ร้อนรุ่ม อยู่ในใจ
| ฟังไม่ได้ศัพท์ จับไปกระเดียด |
ก.ฟังไม่ได้ความแจ่มชัด แล้วเอาไปพูดต่อ หรือ ทำผิด ๆ พลาด ๆ
|
วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2556
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น