จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ, บาหยัน อิ่มสำราญ (บรรณาธิการ, 2548, หน้า 67-71) กล่าวถึงสำนวนที่เกิดขึ้นใหม่ไว้ สรุปได้ดังนี้ | ||
1. สำนวนที่เกิดจากวงการสื่อมวลชน เช่น ไปไม่ถึงดวงดาว (ไม่สำเร็จ ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่คิดไว้) มองต่างมุม (แสดงความคิดเห็นที่แตกต่างออกไป) เป็นต้น
| ||
![]() | ||
2. สำนวนที่เกิดจากวงการเมือง เช่น โปร่งใส (ชัดเจน ไม่มีลับลมคนใน) น็อตหลุด (ยั้งไม่อยู่ พูดโพล่งออกมาหรือแสดงอารมณ์อย่างไม่สมควร) เป็นต้น
| ||
![]() | ||
3. สำนวนที่เกิดจากวงการโฆษณา เช่น ภาษาดอกไม้ (คำพูดที่ไพเราะ รื่นหู พูดไป ทางที่ดี) มีระดับ (คุณภาพดี มีมาตรฐานสูง) เป็นต้น
| ||
![]() | ||
4. สำนวนที่เกิดจากวงการบันเทิง เช่น แจ้งเกิด (เริ่มมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักหรือเป็นที่ยอมรับในวงการนั้น ๆ) คู่กัด (คู่ที่ไม่ถูกกัน) เป็นต้น
| ||
![]() | ||
5. สำนวนที่แปลมาจากภาษาต่างประเทศ เช่น เเกะดำ (back sheep ใช้หมายถึง คนชั่วในกลุ่มคนดี) แขวนอยู่บนเส้นด้าย (hang by a thread ใช้หมายถึง ตกอยู่ในสถานการณ์ที่หมิ่นเหม่ต่ออันตราย) ลื่นเหมือนปลาไหล (slippery as eel ใช้หมายถึง (คน)ที่เชื่อถือได้ยากเพราะเป็นคนตลบตะแลง พลิกแพลงกลับกลอก หรือหลบเลี่ยงไปมาได้คล่องแคล่ว) ล้างมือ (wash one’ s hand of ใช้หมายถึง ปฏิเสธที่จะเกี่ยวข้องหรือรับผิดชอบ หรือเลิกเกี่ยวข้อง) สร้างวิมานในอากาศ (build castles in the air ใช้หมายถึง ฝันหรือหวังในสิ่งที่ไม่วสามารถจะเป็นความจริงได้) เป็นต้น
| ||
![]() |
วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2556
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น