6. สำนวนเกิดใหม่ที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์รายวัน -สำนวนสร้างใหม่ เช่น ขบเหลี่ยม (ไม่ลงรอยกัน ขัดกัน หักร้างกัน) ไทยเหลือง (พระที่ประพฤติตน ไม่เหมาะสม) -สำนวนดัดแปลง เช่น กิ้งก่าฟาดหาง (อาการเตะเพื่อทำร้ายฝ่ายตรงข้าม ดัดแปลงจากชื่อท่ามวยไทย จระเข้ฟาดหาง ) นักกินเมือง (นักการเมืองที่มุ่งแต่จะหาประโยชน์เข้าตัวเอง ดัดแปลงจากคำว่า นักการเมือง) ยุค IMF (ยุคที่เศรษฐกิจตกต่ำต้องประหยัด IMF มาจากคำว่า International Monetary Found ซึ่งเป็นชื่อกองทุนการเงินระหว่างประเทศ) -สำนวนที่เปลี่ยนบริบทการใช้ เช่น ชิงสุกก่อนห่าม (ตกรอบไปก่อนเวลาอันสมควร ปรกติใช้กับการที่หนุ่มสาวลักลอยได้เสียกันก่อนแต่งงาน แต่นำมาใช้ในบริบทใหม่ทางการกีฬา) อุ้ม (ลักพาตัวไป เพื่อนำไปฆ่า เปลี่ยนความหมายจากเดิมที่หมายถึง โอบ ยกขึ้น ยกขึ้นไว้กับตัว หรือให้ความอุปถัมภ์ช่วยเหลือ) -สำนวนที่มาจากภาษาต่างประเทศ เช่น ฮั้ว (สมยอมกันในการประมูลงานโดย บริษัทหนึ่งจะ นัดบริษัทอื่น ๆ ที่สนใจในการประมูลงานใดงานหนึ่งมาตกลงกัน บริษัทนั้นจะจ่ายเงินจำนวนหนึ่งให้บริษัทอื่น ๆ เพื่อให้บริษัทเหล่านั้นหลีกทางให้บริษัทตนเป็นผู้ประมูลได้ มาจากคำว่า ฮั้ว ในภาษาจีน) ไฮโซ ไฮซ้อ ไฮซิ้ม (ชนชั้นสูงหรือผู้มีเงิน มีฐานะในวงสังคม มีที่มาจากคุณหญิง คุณนายที่เป็นภรรยาหรือบุตรนักธุรกิจ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนไทยเสื้อสายจีน และบางคนอาจมีลักษณะของความเป็นจีนอยู่ จึงมีการพูดล้อเลียน ไฮซ้อ ไฮซิ้ม มาจากคำว่า ไฮโซ รวมกับคำว่า ซ้อ และ ซิ้ม ซึ่งเป็นภาษาจีน) เตะซีมะโด่ง (ให้พ้นจากตำแหน่ง ปรกติจะใช้ว่า เตะโด่ง ซีมะโด่ง เป็นคำมาจากภาษาเขมรว่า ซีมวยดอง แปลว่า กินหนึ่งครั้ง เสียงพยางค์สุดท้ายใกล้เคียงกับคำว่า โด่ง ในภาษาไทย จึงนำมาใช้แทนคำว่า โด่ง) | |
วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2556
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น