สำนวนไทย
วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2556
โวหาร หมายถึง ถ้อยคำที่ใช้ในการสื่อสารที่เรียบเรียงเป็นอย่างดี มีวิธีการ มีชั้นเชิงและมีศิลปะ เพื่อสื่อให้ผู้รับสารรับสารได้อย่างแจ่มแจ้ง ชัดเจนและลึกซึ้ง รับสารได้ตามวัตถุประสงค์ของผู้ส่งสาร
| ||
ประเภทของโวหาร
| ||
การเขียนเรื่องราวอาจใช้โวหารต่าง ๆ กันแล้วแต่ชนิดของข้อความ โวหารอาจจำแนก ตามลักษณะ ของข้อความหรือเนื้อหาเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ ดังนี้
| ||
1. บรรยายโวหาร
| ||
คือ โวหารที่ใช้บอกกล่าว เล่าเรื่อง อธิบาย หรือบรรยายเรื่องราว เหตุการณ์ ตลอดจนความรู้ต่าง ๆ อย่างละเอียด เป็นการกล่างถึงเหตุการณ์ที่ต่อเนื่องกัน โดยชี้ให้เห็นถึงสถานที่ที่เกิดเหตุการณ์ สาเหตุที่ก่อให้เกิด เหตุการณ์ สภาพแวดล้อม บุคคลที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผลที่เกิดจากเหตุการณ์นั้น เพื่อให้ผู้รับสารเข้าใจเนื้อหา สาระอย่างแจ่มแจ้งชัดเจน เนื้อหา ที่บรรยายอาจเป็นเรื่องที่สมมุติหรือเรื่องจริงก็ได้ เรื่องที่ใช้บรรยายโวหาร ได้แก่ การเขียนตำรา รายงาน บทความ เรื่องเล่า จดหมาย บันทึก ชีวประวัติ ตำนาน เหตุการณ์ บรรยายภาพ บรรยายธรรมชาติ บรรยายบุคลิกลักษณะบุคคล สถานที่ รายงานหรือจดหมายเหตุ การรายงานข่าว การอธิบายความหมายของคำ การอธิบายกระบวนการ การแนะนำ วิธีปฏิบัติในเรื่องต่าง ๆ เป็นต้น
| ||
![]() | ||
ตัวอย่างบรรยายโวหาร
| ||
ภูเขาไฟฟูจิเป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในประเทศญี่ปุ่นมาหลายศตวรรษแล้ว แต่แรกภูเขานี้เป็นที่เคารพบูชา ของชนพื้นเมืองเผ่าไอนุซึ่งปัจจุบันยังอยู่ตามหมู่เกาะฮอกไกโด ซึ่งเป็นเกาะใหญ่ ที่อยู่เหนือสุดชาวไอนุขนานนาม ภูเขานี้ตามชื่อเทพธิดา “ฟูชิ” ( fuchi) ผู้เป็นเทพธิดาแห่งอัคคี ชาวญี่ปุ่นยังคงนับถือภูเขาไฟฟูจิต่อมา และเรียกชื่อตามที่พวกไอนุตั้งไว้ บรรดาผู้นับถือศาสนาชินโตเชื่อว่าในธรรมชาติทุกรูปแบบจะมีเทพ หรือ กามิ ( kami ) สถิตอยู่ แต่เทพที่สถิตในภูเขาจะศักดิ์สิทธิ์เป็นพิเศษ ภูเขาฟูจิซึ่งสูงที่สุดและงามที่สุดในประเทศ จึงได้รับความเคารพเป็นพิเศษ เพราะถือว่าเป็นสถานที่สถิตของทวยเทพ เป็นจุดเชื่อมโยงระหว่างความ ลึกลับของสวรรค์ และความเป็นจริงของโลกมนุษย์
(เกศกานดา จตุรงคโชค (บรรณาธิการ): โลกพิสดาร แดนพิศวง) | ||
2. อธิบายโวหาร
| ||
คือ โวหารที่ทำให้ความคิดเรื่องใดเรื่องหนึ่งกระจ่างชัดเจนขึ้น มักใช้ ในงานเขียนทางวิชาการ และตำรับตำราต่าง ๆ โดยมีจุดประสงค์จะนำประเด็นที่สงสัยมาอธิบายให้เข้าใจแจ่มแจ้ง การเล่าเรื่องบางตอนถ้ามีประเด็นใดที่เป็นปัญหาก็อาจใช้อธิบายโวหารเสริมความตอนนั้นจนเรื่องกระจ่างชัดเจนขึ้น บางท่านจึงถือว่าอธิบายโวหารเป็นส่วนหนึ่งของบรรยายโวหาร อธิบายโวหารนี้มักใช้ในการอธิบายกระบวนการ การวิเคราะห์หรือจำแนกเนื้อหาออกเป็นประเภท หรือเป็นพวก และการอธิบายความหมายของคำ (จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ และบาหยัน อิ่มสำราญ บรรณาธิการ, 2548, หน้า 48) การอธิบายมีหลายลักษณะ เช่น การอธิบายตามลำดับขั้น การอธิบายด้วยการให้นิยาม หรือคำจำกัดความ การยกตัวอย่าง การเปรียบเทียบ การชี้สาเหตุและผลลัพธ์ที่สัมพันธ์กัน และการใช้อุปกรณ์หรือภาษาประกอบ
สุภัค มหาวรการ (2546, หน้า 11-14) กล่าวถึง หลักการเขียนอธิบายโวหารที่ดี มีการชี้รายละเอียดของเรื่องได้ชัดเจนและครบถ้วน มีการอ้างเหตุผลต่าง ๆ อย่างชัดเจนและเป็นเหตุเป็นผลกันดี มีการจัดลำดับขั้นตอนของเรื่องราวได้ดี ไม่วกวน และใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายและถูกต้อง
| ||
![]() | ||
ตัวอย่างการอธิบาย
| ||
...ศิลปินหรือผู้สร้างศิลปะก็คือหน่วยหนึ่งของสังคม ที่สำคัญได้แก่กลไกทางการเมืองและทางเศรษฐกิจ การต่อสู้กับอิทธิพลดังกล่าวเป็นเรื่องซับซ้อนใหญ่โต เป็นต้นว่า ศิลปินและนักเขียนมีขอบข่าย แห่งเสรีภาพได้แค่ไหน เมื่อผู้ผลิตงานศิลปะจำเป็นต้องยังชีพจากผลงานของเขาด้วย เขาจะมีทางแก้ปัญหาปากท้องของตัวเองอย่างไร โดยเฉพาะในสังคมแบบทุนนิยม นากจากนี้ ปัญหาสำคัญอีกข้อหนึ่งก็คือ เมื่อศิลปะเป็นงานที่เสนอแก่สาธารณชนในแง่การค้า ปฏิปักษ์สำคัญยิ่งของศิลปะเพื่อชีวิตน่าจะมิใช่ศิลปะเพื่องานศิลปะ แต่เป็นศิลปะสุกเอาเผากินซึ่งมุ่งมอมเมา ประชาชนให้หนีจากความเป็นจริงของชีวิตมาสู่โลกของกามารมณ์ หรือเรื่องตื่นเต้นหวือหวาไร้สาระซึ่งขายดี ติดตลาดและแพร่หลายในหมู่ประชาชน
(ณรงค์ จันทร์เรือง: ศิลปะเพื่อชาติ) | ||
3. พรรณนาโวหาร
| ||
คือ โวหารที่ใช้กล่าวถึงเรื่องราว สถานที่ บุคคล สิ่งของ หรืออารมณ์อย่างละเอียด สอดแทรกอารมณ์ ความรู้สึกลงไปเพื่อโน้มน้าวใจ ให้ผู้รับสารเกิดภาพพจน์ เกิดอารมณ์คล้อยตามไปด้วย ใช้ในการพูดโน้มน้าว อารมณ์ของผู้ฟัง หรือเขียนสดุดี ชมเมือง ชมความงามของบุคคล สถานที่และแสดงอารมณ์ความรู้สึกต่าง ๆ เป็นต้น
การใช้พรรณนาโวหาร ควรมีความประณีตในการเลือกใช้ถ้อยคำสำนวนที่ไพเราะเพราะพริ้ง เล่นคำ เล่นอักษร ใช้ถ้อยคำทั้งเสียงและความหมายให้ตรงกับความรู้สึกที่ต้องการพรรณนา รู้จักปรุงแต่งถ้อยคำ ให้ผู้รับสารเกิดภาพพจน์ ใช้โวหารเปรียบเทียบให้เห็นภาพชัดเจน รู้จักเลือกเฟ้นเนื้อหาว่าส่วน ใดควรนำมาพรรณนา ต้องเข้าใจเนื้อหาที่จะพรรณนาเป็นอย่างดี และพรรณนาให้เป็นไปตามอารมณ์ความรู้สึก โดยไม่เสแสร้ง บางกรณีอาจต้องใช้อุปมาโวหารหรือสาธกโวหารประกอบด้วย | ||
![]() | ||
เสียงน้ำใสไหลเย็นกระเซ็นเซาะ ซัดแก่งเกาะคลื่นเกลียวเลี้ยวซ้ายขวา
สุดแนวหินก็ไหลรินตกลงมา สู่ธาราเบื้องล่างอย่างงดงาม สายน้ำสวยรวนรินเป็นฟองคลื่น ละอองชื้นสาดไปไกลเกินห้าม ต้องแสงทองที่สาดส่องเป็นรุ้งงาม ทุกเมื่อยามน้ำไม่เคยเหือดแห้งไป | ||
ตัวอย่างพรรณนาโวหาร
| ||
เขาใช้แขนยันพื้นดิน อาการเหนื่อยอ่อน กลิ่นน้ำฝนบนใบหญ้าและกลิ่นไอดินโซนเข้าจมูกวาบหวิว อยากให้มีใครซักคนผ่านมาพบ เพื่อพาเขากลับไปหาหมอในหมู่บ้าน มดหลายตัวเดินสวนขบวนผ่านไปมา มันไม่มีทีท่าจะสนใจเขาเลยแม้แต่น้อย เขามองดูมันอย่างเลื่อนลอยทำไมมัน จึงเฉยเมยกับฉัน มันคงรู้แน่ ฉันอยากให้มันเป็นคนจริงๆ ฉันจะต้องกลับบ้านให้ได้ เขาคิดพลางเหม่งมองดูยอดสนของหมู่บ้าน หาดเสี้ยวเห็นอยู่ไม่ไกล ดวงอาทิตย์สีแดงเข้มกำลังคล้อยลงเหนือยอดไม้ทางทิศตะวันตก
(นิคม รายวา: คนบนต้นไม้) | ||
4. อุปมาโวหาร
| ||
คือ โวหารที่กล่าวเปรียบเทียบ เพื่อให้ผู้รับสารเข้าใจความหมาย อารมณ์ความรู้สึก หรือเห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น มักใช้ประกอบโวหารประเภทอื่น เช่น เทศนาโวหาร บรรยายโวหาร โดยเฉพาะพรรณนาโวหาร เพราะจะช่วยให้รสของถ้อยคำและรสของเนื้อความไพเราะสละสลวยยิ่งขึ้น ทั้งสารที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม การเปรียบเทียบอาจเปรียบความเหมือนกัน หรือคล้ายคลึงกัน เปรียบเทียบความขัดแย้ง หรือลักษณะตรงกันข้าม หรือเปรียบเทียบโดยให้ผู้รับสารโยง ความคิดหนึ่งไปสู่ อีกความคิดหนึ่ง โดยอาจกล่าวลอย ๆ หรืออาจใช้คำแสดงการเปรียบเทียบ ซึ่งมีอยู่หลากหลาย เช่น เหมือน เสมือน คล้าย ดุจ ดัง ดั่ง ดุจดั่ง ราว ดูราว ปาน เพียง ประหนึ่ง เช่น เฉก ฯลฯ
การใช้อุปมาโวหารควรเลือกใช้ถ้อยคำที่เข้าใจง่าย และสละสลวย แสดงการเปรียบเทียบได้ถูกต้อง เหมาะสมกับเนื้อหา และจังหวะ ลีลา ซึ่งอาจกล่าวลอย ๆ ก็ได้ เนื้อหาที่จะเปรียบเทียบควรเป็นเนื้อหา ที่อธิบายให้เข้าใจได้ยาก เปรียบเทียบกับสิ่งที่เข้าใจได้ง่าย หรือสิ่งที่ผู้รับสารรู้ดีอยู่แล้ว และข้อความที่จะยกมา เปรียบเทียบ (อุปไมย) กับข้อความที่นำมาเปรียบเทียบ (อุปมา) จะต้องเหมาะสมกัน อุปมาโวหารใช้เป็นโวหาร เสริมบรรยายโวหาร พรรณนาโวหารและเทศนาโวหาร เพื่อให้ชัดเจนและน่าอ่านยิ่งขึ้น | ||
![]() | ||
ตัวอย่างอุปมาโวหาร
| ||
…ดังนี้เจ้าจะเห็นได้ว่าเมียที่พ่อจัดหาให้มีตระกูล สมชาติ สมเชื้อกันดี เพราะตระกูลของเราก็มั่งมี มีคนนับหน้าถือตา ญาติพี่น้องทั้งฝ่ายบิดามารดาของนางก็บริบูรณ์ รูปร่างงามหาตำหนิมิได้ ผมดำราวกับแมลงผึ้ง หน้าเปล่งปลั่งดั่งดวงจันทร์ เนตรประหนึ่งตากวาง จมูกแม้นดอกงา ฟันเทียบไข่มุก ริมฝีปากเพียงผลตำลึงสุก เสียงหวานปานนกโกกิลา ขาคือลำกล้วย เอวเหมาะเจาะไม่อ้วนเกิน เวลาย่างเดินแคล่วคล่องมีสง่าเสมอช้างทรง เพราะฉะนั้นเจ้าจะหาทางตำหนิขัดข้องมิได้เลย...
(เสฐียรโกเศศ: กามนิต) | ||
5. สาธกโวหาร
| ||
คือ โวหารที่มุ่งให้ความชัดเจนโดยการยกตัวอย่างหรือเรื่องราวประกอบการอธิบาย เนื้อหาสาระ เพื่อสนับสนุน ข้อคิดเห็นต่าง ๆ ให้หนักแน่น สมเหตุสมผล ทำให้ผู้รับสารเข้าใจเนื้อหา สาระในสิ่งที่พูด หรือเขียนอย่างแจ่มแจ้ง ชัดเจน ดูสมจริง หรือน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น ตัวอย่างหรือเรื่องราว ที่ยกขึ้นประกอบอาจเป็นเรื่องสั้น ๆ หรือเรื่องราวยาว ๆ ก็ได้ตามความเหมาะสม เช่น ประสบการณ์ตรงของผู้ส่งสาร เรื่องราวของบุคคล เหตุการณ์ นิทาน ตำนาน วรรณคดี เป็นต้น สาธกโวหารมักใช้เป็นอุทาหรณ ์ประกอบอยู่ในเทศนาโวหาร หรืออธิบายโวหาร
การใช้สาธกโวหาร ควรใช้ถ้อยคำภาษาที่เข้าใจง่าย รู้จักเลือกว่าเนื้อหาตอนใดควรใช้ตัวอย่าง หรือเรื่องราวประกอบ และตัวอย่างที่ยกมา ประกอบต้องสอดคล้องกับเนื้อหา และเป็นเรื่องที่น่าสนใจ สมเหตุสมผล สาธกโวหารมักแทรกอยู่ในโวหารอื่น ๆ เช่น บรรยายโวหาร หรือเทศนาโวหาร | ||
![]() | ||
ตัวอย่างสาธกโวหาร
| ||
ถ้าเธอไม่อยากอยู่กับฉันจริงจริง ยินยอมทุกสิ่ง ให้เธอทิ้งไป ฉันขอแค่เพียงให้เวลาหน่อยได้ไหม อยากเล่านิทานให้ฟัง ชาวนาคนหนึ่งมีชีวิตลำพัง ไปเจองูเห่ากำลังใกล้ตายสงสาร
จึงเก็บเอามาเลี้ยงโดยไม่รู้ สุดท้ายจะเป็นอย่างไร คอยดูแลด้วยความจริงใจ ห่วงใย และคอยให้ความรักเป็นกังวลว่ามันจะตาย เฝ้าคอยเอาใจทุกอย่าง แต่สุดท้ายชาวนาผู้ชายใจดี ด้วยความ ที่เขาไว้ใจ น่าเสียดายกลับต้องตาย ด้วยพิษงู นิทานมันบอกให้ยอมรับความจริง ว่ามีบางสิ่ง ไม่ควรไว้ใจ อะไรบางอย่างที่ทำดีซักแค่ไหน ไม่เชื่อง ไม่รัก ไม่จริง (สีฟ้า: ชาวนากับงูเห่า) | ||
6. เทศนาโวหาร
| ||
คือ โวหารที่มุ่งโน้มน้าวใจให้เกิดความรู้สึกคล้อยตาม เป็นการกล่าวในเชิงอบรม แนะนำสั่งสอน เสนอทัศนะ ชี้แนะ หรือโน้มน้าว ชักจูงใจโดยยกเหตุผล ตัวอย่าง หลักฐาน ข้อมูล ข้อเท็จจริง สุภาษิต คติธรรมและสัจธรรม ต่าง ๆ มาแสดงเพื่อให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจที่กระจ่างจนยอมรับเชื่อถือมีความเห็น คล้อยตาม และปฏิบัติตาม โวหารประเภทนี้มักใช้ ในการให้โอวาท อบรมสั่งสอน อธิบายหลักธรรม และคำชี้แจงเหตุผล ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง การเสนอทัศนะ เป็นต้น
การใช้เทศนาโวหารควรใช้ถ้อยคำภาษาให้เหมาะสมกับผู้รับสาร ใช้ถ้อยคำในการชี้แจงเหตุผลที่กล่าวถึง ให้แจ่มแจ้งชัดเจน และชี้แจงไปตามลำดับไม่สับสนวกวน ควรใช้โวหารอื่นประกอบด้วยเพื่อให้ชวนติดตาม การเขียนเทศนาโวหารต้องใช้โวหารประเภทต่าง ๆ มาประกอบอาจจะใช้บรรยายโวหาร พรรณนาโวหาร รวมทั้งอุปมาโวหารและสาธกโวหารด้วย มักใช้กับงานเขียนประเภทบทความชักจูงใจ หรือบทความแสดง ความคิดเห็น ความเรียง เป็นต้น แต่ส่วนใหญ่มักจะเข้าใจว่าเทศนาโวหารเป็นโวหารที่มุ่งสั่งสอน | ||
![]() | ||
ตัวอย่างเทศนาโวหาร
| ||
“…เราโชคดีที่มีภาษาของตนเองแต่โบราณกาล จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้ ปัญหาเฉพาะในด้านการรักษาภาษานี้ก็มีหลายประการ อย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในทางการ
ออกเสียง คือ ให้ออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจน อีกอย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในวิธีการใช้ หมายความว่า วิธีใช้คำมาประกอบเป็นประโยคนับเป็นปัญหาที่สำคัญ ปัญหาที่สาม คือ ความร่ำรวยในคำของภาษาไทย ซึ่งพวกเรานึกว่าไม่ร่ำรวยพอ จึงต้องมีการบัญญัติศัพท์ใหม่มาใช้...” “...ในปัจจุบันนี้ปรากฏว่า ได้มีการใช้ถ้อยคำออกจะฟุ่มเฟือยและไม่ตรงกับความอันแท้จริง อยู่เนือง ๆ ทั้งการออกเสียงก็ไม่ถูกต้องตามอักขรวิธี ถ้าปล่อยให้เป็นดังนี้ภาษาของเราก็มีแต่ จะทรุดโทรม ชาติไทยเรามีภาษาของเราใช้เองเป็นสิ่งประเสริฐอยู่แล้ว เป็นมรดกอันมีค่าตกทอดมาถึงเรา ทุกคนมีหน้าที่จะต้องรักษาไว้...” (พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว) |
สำนวน
|
ความหมาย
|
สำนวน
|
ความหมาย
|
ไกลปืนเที่ยง
|
ว.ไม่รู้อะไร เพราะ อยู่ห่างไกลความเจริญ
|
ขมิ้นกับปูน
|
ว.ชอบวิวาทกันอยู่เสมอ เมื่ออยู่ใกล้กันไม่ถูกกัน
|
ขวานผ่าซาก
|
ว.โผงผางไม่เกรงใจใคร (ใช้แก่กริยาพูด)
|
ข้าเก่าเต่าเลี้ยง
|
น.คนเก่าคนแก่, คนที่อยู่ด้วยกันในฐานะ รับใช้มานาน
|
ขายผ้าเอาหน้ารอด
|
ก.ยอมเสียสละแม้แต่ ของจำเป็นที่ตนที่อยู่ เพื่อรักษาชื่อเสียงของตนไว้, ทำให้เสร็จลุล่วงไป เพื่อรักษาชื่อเสียงของตนไว้
|
ข้าวแดงแกงร้อน
|
น.บุญคุณ
|
ขิงก็รา ข่าก็แรง
|
ต่างก็จัดจ้านพอ ๆ กัน , ต่างก็มีอารมณ์ร้อนพอ ๆ กัน, ต่างไม่ยอมลดละกัน
|
ขี่ช้างจับตั๊กแตน
|
ก.ลงทุนมากแต่ได้ผล นิดหน่อย
|
เข้าเมืองตาหลิ่ว
ต้องหลิ่วตาตาม |
ก.ประพฤติตนตามที่ คนส่วนใหญ่ ประพฤติกัน
|
เขียนเสือให้วัวกลัว
|
ก.ทำอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่ง เสียขวัญหรือเกรงขาม
|
แขวนนวม
|
ก.เลิกชกมวย, โดยปริยายหมายถึง
เลิก, หยุด |
ไข่ในหิน
|
น.ของที่ต้องระมัดระวังทะนุถนอมอย่างยิ่ง
|
คดในข้องอในกระดูก
|
ว.มีสันดานคดโกง
|
คนดีผีคุ้ม
|
น.คนทำดี เทวดาย่อมคุ้มครอง,
มักใช้คู่กับ คนร้ายตายขุม เป็น คนดี ผีคุ้ม คนร้ายตายขุม |
คนรักเท่าผืนหนัง
คนชังเท่าผืนเสื่อ |
น.คนรักมีน้อย คนชังมีมาก
|
คมในฝัก
|
ว.มีความรู้ความสามารถ แต่เมื่อยังไม่ถึงเวลา ก็ไม่แสดง ออกมาให้ปรากฏ
|
คลุกคลีตีโมง
|
ก.มั่วสุม หรืออยู่ร่วม คลุกคลีพัวพันกัน
อย่างใกล้ชิดตลอดเวลา |
คลุมถุงชน
|
น.ลักษณะการแต่งงาน ที่ผู้ใหญ่จัดการให้โดย ที่เจ้าตัวไม่รู้จักคุ้นเคยหรือ รักกันมาก่อน
|
คว่ำบาตร
|
ก.ไม่ยอมคบค้าสมาคมด้วย, เดิมหมายถึง สังฆกรรมที่พระสงฆ์ ประกาศลงโทษคฤหัสถ์ ผู้ประทุษร้ายต่อศาสนา ด้วยการไม่คบ ไม่รับบิณฑบาตเป็นต้น
|
คางคกขึ้นวอ
|
น.คนที่มีฐานะต่ำต้อย พอได้ดิบได้ดี ก็มักแสดงกิริยาอวดดีลืมตัว
|
เคราะห์หามยามร้าย
|
น.เคราะห์ร้าย
|
เคียงบ่าเคียงไหล่
|
ว.มีฐานะเสมอกัน ทัดเทียมกัน หรืออยู่ในระดับเดียวกัน; ร่วมสุขร่วมทุกข์ หรือร่วมเป็น ร่วมตายด้วยกัน เช่น
รบเคียงบ่าเคียงไหล่ |
ฆ้องปากแตก
|
ว.ปากโป้ง, เก็บความลับไม่อยู่, ชอบนำความลับของผู้อื่นไปโพนทะนา
|
ฆ่าควายเสียดายเกลือ, ฆ่าควายเสียดายพริก
|
ก.ทำการใหญ่ไม่ควรตระหนี่
|
ฆ่าช้างเอางา
|
ก.ทำลายของใหญ่เพื่อให้ได้ของเล็กน้อย ซึ่งไม่คุ้มค่ากัน
|
ฆ่าไม่ตายขายไม่ขาด
|
ก.ตัดเยื่อใยไม่ขาด (มักใช้แก่พ่อแม่ ที่รักลูกมาก ถึงจะโกรธ จะเกลียดอย่างไร ก็ตัดไม่ขาด)
|
งงเป็นไก่ตาแตก
|
ก.งงมากจนทำอะไรไม่ถูก
|
งมเข็มในมหาสมุทร
|
ก.ค้นหาสิ่งที่ยากจะค้นหาได้, ทำกิจที่สำเร็จได้ยาก
|
งอมืองอตีน
|
ก.เกียจคร้าน, ไม่สนใจขวนขวายทำการงาน, ไม่คิดสู้
|
งานหลวงไม่ขาด
งานราษฎร์ไม่เสีย |
ทำงานไม่บกพร่องทั้งงานส่วนรวม และส่วนตัว
|
งูกินหาง
|
ว.เกี่ยวโยงกันจากหัวถึงหางโดยซัดกันเป็นทอดๆ
|
เงาตามตัว
|
น.ผู้ที่ไปไหนไปด้วยกันแทบไม่คลาดกันเลย; สิ่งที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงไปตามกัน เช่น น้ำมันขึ้นราคา สินค้าอื่น ๆ ก็ขึ้นราคา เป็นเงาตามตัว
|
เงียบเป็นเป่าสาก
|
ว.ลักษณะที่เงียบสนิท
|
โง่เง่าเต่าตุ่น
|
ว.โง่ที่สุด เช่น เพราะโง่เง่าเต่าตุ่นพ่อคุณเอ๋ย ผู้ใดเลยจะประสงค์จำนงหมาย (นิ. ทวาราวดี)
|
โง่แล้วอยากนอนเตียง
|
ว.โง่แล้วไม่เจียมตัวว่าโง่ ไปทำสิ่งที่ตน ไม่รู้ไม่เข้าใจ
|
จมูกมด
|
ว.ไหวตัวหรือรู้ตัวทันเหตุการณ์,
บางทีใช้คู่กับ คำว่า หูผี เป็น หูผีจมูกมด |
จระเข้ขวางคลอง
|
น.ผู้ที่ชอบกันท่าหรือขัดขวางไม่ให้ผู้อื่นทำการ อย่างใดอย่างหนึ่ง ได้สะดวกเหมือนจระเข้ ที่ขึ้นมาขวางคลองทำให้เรือ ผ่านไปมาไม่สะดวก
|
จองหองพองขน
|
ว.เย่อหยิ่งแสดงอาการ ลบหลู่
|
จับปลาสองมือ
|
ก.หมายจะเอาให้ได้ ทั้ง 2 อย่าง, เสี่ยงทำการ 2 อย่างพร้อม ๆ กัน ซึ่งอาจไม ่สำเร็จทั้ง 2 อย่าง
|
จับปูใส่กระด้ง
|
ก.ยากที่จะทำให้อยู่นิ่ง ๆ ได้
|
จับแพะชนแกะ
|
ก.ทำอย่างขอไปที ไม่ได้อย่างนี้ก็เอาอย่างนั้น เข้าแทน เพื่อให้ลุล่วงไป
|
จับเสือมือเปล่า
|
ก.แสวงหาประโยชน์ โดยตัวเองไม่ต้องลงทุน
|
จุดไต้ตำตอ
|
ก.พูดหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งบังเอิญไปโดน เอาเจ้าตัว หรือผู้ที่เป็นเจ้าของเรื่องนั้นเข้าโดยผู้พูด หรือผู้ทำไม่รู้ตัว
|
เจ้าไม่มีศาล
สมภารไม่มีวัด |
น.ผู้ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง
|
ชักน้ำเข้าลึก ชักศึกเข้าบ้าน |
ก.นำศัตรูเข้าบ้าน
| ชักใบให้เรือเสีย |
ก.พูดหรือทำขวาง ๆ ให้การสนทนาหรือ การงานเขว ออกนอกเรื่องไป
|
ชักใย |
ก.บงการอยู่เบื้องหลัง
| ชั่วช่างชี ดีช่างสงฆ์ |
ว.ปล่อยไปตามเรื่องตามราว ไม่เอาเป็นธุระ (มักใช้แก่พระสงฆ์)
|
ช้า ๆ ได้พร้า สองเล่มงาม |
ว.ค่อย ๆ คิดค่อย ๆ ทำแล้วจะสำเร็จผล
| ช้างตายทั้งตัว เอาใบบัวมาปิด |
น.ความชั่วหรือความผิดร้ายแรงที่คนรู้กันทั่วแล้ว จะปิดอย่างไรก็ไม่มิด
|
ชายสามโบสถ์ |
น.ผู้ที่บวชแล้วสึกถึง 3 หน,ใช้พูดเป็นเชิงตำหนิว่า เป็นคนไม่น่าคบ
| ชิงสุกก่อนห่าม |
ก.ทำสิ่งที่ยังไม่สมควรแก่วัยหรือยังไม่ถึงเวลา
(มักหมายถึงการลักลอบได้เสียกันก่อน แต่งงาน), ใช้เป็นคำสอน หรือเตือนสติ ว่า อย่าชิงสุกก่อนห่าม |
ชี้นกบนปลายไม |
ก.หวังในสิ่งที่อยู่ไกลตัว
| ชุบมือเปิบ |
ก.ฉวยประโยชน์จากคนอื่นโดยไม่ได้ลงทุนลงแรง
|
เชื้อไม่ทิ้งแถว |
ว.เป็นไปตามเผ่าพันธุ์
| ซื่อเหมือนแมว นอนหวด |
ว.ทำเป็นซื่อ
|
ซื้อควายหน้านา, ซื้อผ้าหน้าหนาว |
ก.ซื้อของไม่คำนึงถึงกาลเวลา ย่อมได้ของแพง,
ทำอะไรไม่เหมาะกับกาลเวลา ย่อมได้รับ ความเดือดร้อน | เฒ่าหัวงู |
น.คนแก่หรือคนมีอายุที่มีเล่ห์เหลี่ยม หรือกลอุบาย หลอกเด็กผู้หญิง ในทางกามารมณ์, คนแก่เจ้าเล่ห์
|
ดาบสองคม |
ว.มีทั้งคุณและโทษ, อาจดีอาจเสียก็ได้
| ดาวล้อมเดือน |
ว.มีบริวารแวดล้อมมาก
|
ดีดลูกคิดรางแก้ว |
ก.คิดถึงผลที่จะได้ ทางเดียว
| เดินตามหลังผู้ใหญ่ หมาไม่กัด |
ก.ประพฤติตามอย่างผู้ใหญ่ย่อมปลอดภัย
|
ได้ทีขี่แพะไล่ |
ก.ซ้ำเติมเมื่อผู้อื่น เพลี่ยงพล้ำลง
| ตกนรกทั้งเป็น |
ก.ได้รับความลำบากแสนสาหัส เช่น คนที่ได้รับโทษทัณฑ์ในเรือนจำ
|
ตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้ |
ก.ตกอยู่ในที่คับขันอย่างไรก็ไม่เป็นอันตราย, เป็นคำเปรียบเทียบ หมายความว่าตกอยู่ที่ใด ก็ไม่สูญหาย เช่น ของหลวงตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้
| ตกม้าตาย |
ว.แพ้เร็ว, ยุติเร็ว,เรียกเต็มว่าสามเพลงตกม้าตาย
|
ตกล่องปล่องชิ้น |
ก.ตัดสินใจที่จะร่วมมือหรือร่วมชีวิตด้วย
| ต้นร้ายปลายดี |
น.ตอนแรกประพฤติตัว ไม่ดี แต่ภายหลังกลับ สำนึกตัวได้และ ประพฤติดีตลอดไป, ตอนต้นไม่ดี ไปดีเอาตอนปลาย
|
ตบตา |
ก.หลอกหรือลวง ให้เข้าใจผิด
| ตบหัวลูบหลัง |
ก.ทำหรือพูดให้กระทบกระเทือนใจ
ในตอนแรกแล้ว กลับทำหรือพูดเป็นการปลอบใจ ในตอนหลัง |
ต่อความยาว สาวความยืด |
ก.พูดกันไปพูดกันมาให้มากเรื่องเกินสมควร
| ต่อหน้ามะพลับ ลับหลังตะโก |
ว.ต่อหน้าทำเป็นดี แต่พอลับหลังก็นินทา หรือหาทางทำร้าย
|
ตัดเชือก |
ก.ตัดความสัมพันธ์ ไม่ยอมให้ความช่วยเหลือ อีกต่อไป
| ตัดหางปล่อยวัด |
ก.ตัดขาดไม่เกี่ยวข้อง ไม่เอาเป็นธุระอีกต่อไป
|
ตาบอดสอดตาเห็น |
อวดรู้ในเรื่องที่ตนเองไม่รู้
| ตำข้าวสารกรอกหม้อ |
ก.หาเพียงแค่พอกินไปมื้อหนึ่ง ๆ , ทำให้พอเสร็จ ไปชั่วครั้งหนึ่ง ๆ
|
ตีงูให้กากิน |
ก.ทำสิ่งใด ๆ ไว้แล้ว แต่ผลไปตกแก่ผู้อื่น, ทำสิ่งที่ตนควรจะได้รับประโยชน์ แต่กลับไม่ได้
| ตีนเท่าฝาหอย |
น.เด็กทารก
|
ตีปลาหน้าไซ |
ก.พูดหรือทำให้กิจการของผู้อื่นซึ่งกำลังดำเนิน ไปด้วยดีกลับเสียไป
| ตีวัวกระทบคราด |
ก.โกรธคนหนึ่งแต่ทำอะไรเขาไม่ได้ ไพล่ไปรังควานอีกคน หนึ่งที่เกี่ยวข้อง และตนสามารถทำได้
|
เต้นแร้งเต้นกา |
ก.แสดงอาการดีอกดีใจหรือสนุกสนานด้วยการ กระโดดโลดเต้น
| เตี้ยอุ้มค่อม |
น.คนที่มีฐานะต่ำต้อย หรือยากจนแต่ รับภาระเลี้ยงดูคน ที่มีฐานะเช่นตนอีก
|
ถ่มน้ำลายรดฟ้า |
ก.ประทุษร้ายต่อสิ่งที่สูงกว่าตน ตัวเองย่อมได ้รับผลร้าย
| ถอดเขี้ยวถอดเล็บ |
ก.ละพยศ, ละความดุ หรือร้ายกาจ, เลิกแสดงฤทธิ์ แสดงอำนาจอีกต่อไป
|
ถอนหงอก |
ก.ไม่นับถือความเป็นผู้ใหญ่,พูดว่าให้เสียผู้ใหญ่
| ถี่ลอดตาช้าง ห่างลอดตาเล็น |
ว.ดูเหมือนรอบคอบถี่ถ้วน แต่ไม่รอบคอบ ถี่ถ้วนจริง,ประหยัดในสิ่งที่ไม่ควรประหยัด ไม่ประหยัด ในสิ่งที่ควรประหยัด
|
ถึงพริกถึงขิง |
ว.เผ็ดร้อนรุนแรง เช่น การโต้วาทีคราวนี้ถึง พริกถึงขิง
| ทรัพย์ในดิน สินในน้ำ |
น.สิ่งที่มีอยู่หรือเกิดตามธรรมชาติ อันอาจนำ มาใช้ให้เป็นประโยชน์ได้
|
ทองไม่รู้ร้อน |
ว.เฉยเมย, ไม่กระตือ รือร้น, ไม่สะดุ้งสะเทือน
| ท่าดีทีเหลว |
ว.มีท่าทางดี แต่ทำอะไรไม่ได้เรื่อง
|
ทำคุณบูชาโทษ |
ก.ทำคุณแต่กลับเป็นโทษ, ทำดีแต่กลับเป็นร้าย, มักใช้พูดเข้าคู่กับโปรดสัตว์ได้บาป เป็น ทำคุณบูชาโทษ โปรดสัตว์ได้บาป
| ทุบหม้อข้าว |
ก.ตัดอาชีพ, ทำลายหนทางทำมาหากิน
|
นกต่อ |
น.คนที่ทำหน้าที่ติดต่อหรือชักจูงหลอกล่อคนอื่น ให้หลงเชื่อ (ใช้ในทาง ไม่ดี)
| นอนหลับไม่รู้ นอนคู้ไม่เห็น |
ก.ไม่รู้เรื่องราวที่เกิดขึ้น, ไม่รู้อีโหน่อีเหน่
|
นายว่าขี้ข้าพลอย |
ก.พลอยพูดผสมโรง ติเตียนผู้อื่นตามนาย ไปด้วย
| น้ำขึ้นให้รีบตัก |
มีโอกาสดีควรรีบทำ
|
น้ำขุ่นไว้ใน น้ำใสไว้นอก |
แม้จะไม่พอใจก็ยังแสดง สีหน้ายิ้มแย้ม
| น้ำมาปลากินมด น้ำลดมดกินปลา |
ทีใครทีมัน
|
น้ำลดตอผุด |
เมื่อหมดอำนาจความชั่ว ที่เคยทำไว้ก็ปรากฏ
| บนบานศาลกล่าว |
ก.ขอร้องให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยเหลือ
|
บอกเล่าเก้าสิบ |
ก.บอกกล่าวให้รู้
| บ้านเคยอยู่ อู่เคยนอน |
น.สถานที่ตนเคยอยู่อาศัยมาก่อน
|
บ้าหอบฟาง |
ว.บ้าสมบัติ เห็นอะไร ๆเป็นของมีค่าจะเอา ทั้งนั้น, อาการที่หอบหิ้วสิ่งของพะรุงพะรัง
| แบกหน้า |
ก.จำใจกลับมาแสดงตัวหรือติดต่อกับผู้ที่ตนเคย ทำไม่ดี ไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสมมาก่อนอีก เช่น นี่แบกหน้ากลับมาหากู (รามเกียรติ์พลเสพย์)
|
ปากว่าตาขยิบ |
ก.พูดอย่างหนึ่งแต่ทำอีกอย่างหนึ่ง
ว.ปากกับใจไม่ตรงกัน | ปากปราศรัย น้ำใจเชือดคอ |
ก.พูดดีแต่ใจคิดร้าย
|
เป็นฝั่งเป็นฝา |
ก.มีหลักฐานมั่นคง
| ปิดทองหลังพระ |
ก.ทำความดีแต่ไม่ได้รับการยกย่องเพราะ ไม่มีใครเห็นคุณค่า
|
ไปไหนมาสามวา สองศอก |
ก.ถามอย่างหนึ่งตอบไปอีกอย่างหนึ่ง
| โปรดสัตว์ได้บาป |
ก.ทำดีแต่กลับได้ชั่ว, มักพูดเข้าคู่กับ ทำคุณบูชาโทษ เป็น ทำคุณบูชาโทษ โปรดสัตว์ได้บาป
|
ผักชีโรยหน้า |
น.ทำความดีเพียงผิวเผิน
| ผัดวันประกันพรุ่ง |
ก.ขอเลื่อนเวลาออกไป ครั้งแล้วครั้งเล่า
|
ผีซ้ำด้ำพลอย |
ว.ถูกซ้ำเติมเมื่อพลาดพลั้งหรือเมื่อคราว เคราะห์ร้าย
| ผ้าขี้ริ้วห่อทอง |
น.คนมั่งมีแต่แต่งตัวซอมซ่อ
|
ฝนทั่งให้เป็นเข็ม |
ก.เพียรพยายาม สุดความสามารถ จนกว่าจะสำเร็จผล
| ฝนตกไม่ทั่วฟ้า |
ก.ให้หรือแจกจ่ายอะไร ไม่ทั่วถึงกัน
|
ฝนสั่งฟ้า ปลาสั่งหนอง |
สั่งเสียเป็นครั้งสุดท้าย, ทำการอันใดที่เป็นสิ่ง สำคัญเพื่อไว้อาลัย ก่อนจากไป
| ฝากผีฝากไข้ |
ก.ขอยึดเป็นที่พึ่งจนวันตาย
|
พระศุกร์เข้า พระเสาร์แทรก |
น.ความทุกข์ยากลำบาก ที่เกิดซ้อน ๆ เข้ามา ในขณะเดียวกัน
| พระอิฐพระปูน |
ว.นิ่งเฉย, วางเฉย ไม่เดือดร้อน, ไม่รู้สึก
ยินดียินร้าย |
พายเรือคนละที |
ก.ทำงานไม่ประสานกัน
| พรากลูกนกฉกลูกกา |
ก.ทำให้ลูกพลัดพรากจากพ่อแม่
|
พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง |
ก.พูดไปไม่มีประโยชน์ นิ่งเสียดีกว่า
| พุ่งหอกเข้ารก |
ก.ทำพอให้เสร็จไปโดยไม่มีเป้าหมายหรือ โดยไม่คำนึงว่าใครจะเดือดร้อน
|
แพะรับบาป |
น.คนที่รับเคราะห์กรรมแทนผู้อื่นที่ทำกรรมนั้น
| แพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร |
น.การยอมแพ้ทำให้เรื่องสงบ การไม่ยอมแพ้ ทำให้เรื่องไม่สงบ
|
ไฟสุมขอน |
น.ไฟที่คุกรุ่นอยู่ในขอนไม้ขนาดใหญ่ ดับยาก, โดยปริยายหมายถึงอารมณ์รัก โกรธ หรือแค้นเป็นต้น ที่ร้อนรุ่ม อยู่ในใจ
| ฟังไม่ได้ศัพท์ จับไปกระเดียด |
ก.ฟังไม่ได้ความแจ่มชัด แล้วเอาไปพูดต่อ หรือ ทำผิด ๆ พลาด ๆ
|
ข้อควรคำนึงในการใช้สำนวนไทย ได้แก | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
1. ควรใช้ให้ถูกต้องตรงตามความหมาย นั่นคือ ผู้ใช้จะต้องเรียนรู้และเข้าใจความหมายของสำนวนอย่างถ่องแท้ จึงจะใช้สำนวนได้ถูกต้องตามความหมาย เพราะมีสำนวนที่มีคำใช้คล้ายกันแต่มีความหมายต่างกัน จึงใช้แทนกันไม่ได้ แต่ก็มีบางสำนวนที่มี ความหมายเหมือนกัน คล้ายคลึงกันอาจใช้แทนกันได้ แต่บางสำนวนแม้จะ มีความหมายเหมือนกันก ็ไม่อาจจะใช้แทนกันได้ ทุกสถานการณ์ ดังตัวอย่างสำนวนต่อไปนี้
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2.ไม่เขียนสำนวนผิดหรือใช้ต่างไปจากสำนวนที่มีใช้อยู่โดยทั่วไปเพราะจะสื่อความหมายไม่ได้ ดังจุดประสงค์ เช่น
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3. ใช้สำนวนให้ถูกต้องตามสถานการณ์ สอดคล้องกับกาลเทศะและบุคคลและใช้ให้พอเหมาะ ไม่ฟุ่มเฟือย จนไม่อาจสื่อสารได้ดังต้องการ ดังนั้นควรคำนึงถึงโอกาสและความเหมาะสมเป็นสำคัญ เช่น
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การใช้สำนวนที่ถูกต้องเหมาะสมจะช่วยให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สามารถสื่อความหมาย ได้อย่างชัดเจน ถูกต้อง และรวดเร็ว โดยทั่วไปเราใช้สำนวนเพื่อการสื่อสารในกรณีต่อไปนี้ | ||
![]() | ||
1. ใช้ในการจูงใจ เช่น ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา ธรรมะย่อมชนะอธรรม คบคนพาลพาลพาไปหาผิด คบบัณฑิต บัณฑิตพาไปหาผล แพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร
เป็นต้น | ||
![]() | ||
2. ใช้ย่อข้อความยาว ๆ เช่น ขิงก็รา ข่าก็แรง ตัดหางปล่อยวัด จับปลาสองมือ กินเปล่า ชุบมือเปิบ ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ เป็นต้น
| ||
![]() | ||
3. ใช้ขยายความหรือเน้นความเข้าใจ เช่น ปิดทองหลังพระ หนีเสือปะจระเข้ ทำคุณบูชาโทษ กินน้ำใต้ศอก เรือล่มในหนองทองจะไปไหน หนูตกถังข้าวสาร เป็นต้น | ||
![]() | ||
4. ใช้แทนถ้อยคำที่ไม่ต้องการกล่าวตรงๆ เช่น เฒ่าหัวงู สิ้นบุญ เจ้าโลก บ้านเล็ก ไก่แก่แม่ปลาช่อน โคแก่กินหญ้าอ่อน วัวเคยขาม้าเคยขี่ เป็นต้น
| ||
![]() | ||
5. ใช้เพิ่มสีสันและความสละสลวยของถ้อยคำในการสื่อสาร เช่น ข้าวแดงแกงร้อน อยู่เย็นเป็นสุข รั้วรอบขอบชิด คลุกคลีตีโมง ขุดบ่อ ล่อ ปลา เป็นต้น
| ||
6. สำนวนเกิดใหม่ที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์รายวัน -สำนวนสร้างใหม่ เช่น ขบเหลี่ยม (ไม่ลงรอยกัน ขัดกัน หักร้างกัน) ไทยเหลือง (พระที่ประพฤติตน ไม่เหมาะสม) -สำนวนดัดแปลง เช่น กิ้งก่าฟาดหาง (อาการเตะเพื่อทำร้ายฝ่ายตรงข้าม ดัดแปลงจากชื่อท่ามวยไทย จระเข้ฟาดหาง ) นักกินเมือง (นักการเมืองที่มุ่งแต่จะหาประโยชน์เข้าตัวเอง ดัดแปลงจากคำว่า นักการเมือง) ยุค IMF (ยุคที่เศรษฐกิจตกต่ำต้องประหยัด IMF มาจากคำว่า International Monetary Found ซึ่งเป็นชื่อกองทุนการเงินระหว่างประเทศ) -สำนวนที่เปลี่ยนบริบทการใช้ เช่น ชิงสุกก่อนห่าม (ตกรอบไปก่อนเวลาอันสมควร ปรกติใช้กับการที่หนุ่มสาวลักลอยได้เสียกันก่อนแต่งงาน แต่นำมาใช้ในบริบทใหม่ทางการกีฬา) อุ้ม (ลักพาตัวไป เพื่อนำไปฆ่า เปลี่ยนความหมายจากเดิมที่หมายถึง โอบ ยกขึ้น ยกขึ้นไว้กับตัว หรือให้ความอุปถัมภ์ช่วยเหลือ) -สำนวนที่มาจากภาษาต่างประเทศ เช่น ฮั้ว (สมยอมกันในการประมูลงานโดย บริษัทหนึ่งจะ นัดบริษัทอื่น ๆ ที่สนใจในการประมูลงานใดงานหนึ่งมาตกลงกัน บริษัทนั้นจะจ่ายเงินจำนวนหนึ่งให้บริษัทอื่น ๆ เพื่อให้บริษัทเหล่านั้นหลีกทางให้บริษัทตนเป็นผู้ประมูลได้ มาจากคำว่า ฮั้ว ในภาษาจีน) ไฮโซ ไฮซ้อ ไฮซิ้ม (ชนชั้นสูงหรือผู้มีเงิน มีฐานะในวงสังคม มีที่มาจากคุณหญิง คุณนายที่เป็นภรรยาหรือบุตรนักธุรกิจ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนไทยเสื้อสายจีน และบางคนอาจมีลักษณะของความเป็นจีนอยู่ จึงมีการพูดล้อเลียน ไฮซ้อ ไฮซิ้ม มาจากคำว่า ไฮโซ รวมกับคำว่า ซ้อ และ ซิ้ม ซึ่งเป็นภาษาจีน) เตะซีมะโด่ง (ให้พ้นจากตำแหน่ง ปรกติจะใช้ว่า เตะโด่ง ซีมะโด่ง เป็นคำมาจากภาษาเขมรว่า ซีมวยดอง แปลว่า กินหนึ่งครั้ง เสียงพยางค์สุดท้ายใกล้เคียงกับคำว่า โด่ง ในภาษาไทย จึงนำมาใช้แทนคำว่า โด่ง) | |
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)